ตามข้อ 6 ของกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามจำนวนวันที่ไม่มีการจ้างงานคนพิการ เว้นแต่ จะได้รับคนพิการรายใหม่เข้าทำงานแทนภายใน 45 วัน นับแต่วันที่คนพิการรายเก่าลาออก
ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เช่น
กรณีที่ 1 ไม่ได้รับคนพิการทดแทน ให้ส่งเงินเข้ากองทุนฯ นับแต่วันที่ไม่มีคนพิการทำงาน คือ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่นำเงินมาชำระต่อกองทุนฯ (โดยใช้แบบฟอร์ม จพ 7 และ 7/1 ยื่นต่อกองทุนฯเพื่อการชำระเงิน)
กรณีที่ 2 ได้รับคนพิการทดแทน แต่ไม่ใช่ภายใน 45 วัน เช่น รับคนพิการได้ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2566พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่นำเงินมาชำระต่อกองทุนฯ (โดยใช้แบบฟอร์ม จพ 7 และ 7/1 ยื่นต่อกองทุนฯเพื่อแจ้งชื่อคนพิการรายใหม่และการชำระเงิน
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ต้องจ้างคนพิการที่สามารถทำงานได้ และจ้างได้ ทุกประเภทความพิการอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และอัตราค่าจ้างตามความรู้ความสามารถ รวมถึงอัตราตามที่มีการจ้างกันโดยทั่วไป ซึ่งถ้าเป็นค่าจ้างรายวัน ต้องไม่น้อยกว่าค่าแรงขึ้นต่ำในพื้นที่ที่มีการจ้างงานคนพิการ
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างทุกคนต้องเข้าเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินสมทบ ทั้งในส่วนของลูกจ้างและนายจ้าง
ไม่เสียสิทธิ เพราะเบี้ยความพิการเป็นสิทธิที่พึงได้รับตามกฎหมาย
สำนักงานจัดหางานในพื้นที่ สถาบันการศึกษาที่คนพิการเข้าไปเรียน สมาคมคนพิการประเภทต่างๆ ศูนย์บริการจัดหางานของมูลนิธิพระมหาไถ่ จะให้พก. /พมจ.ติดต่อก็ได้
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ฯ หากคนพิการมีความประสงค์จะเข้าถึงสิทธิต้องยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. ฯ และจะต้องเป็นบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุเท่านั้น
สามารถที่จะจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับลูกจ้างพิการ ตามความจำเป็นเหมาะสม เช่น ลูกจ้างทางการเคลื่อนไหวใช้รถวีลแชร์ ก็ต้องจัดให้มีห้องน้ำคนพิการ ทางลาด ที่จอดรถ เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ ได้สองเท่าตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 และตามหนังสือ กรมสรรพากรที่ กค 0702 /7198 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557
ตามข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 156/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรายจาย จากการดําเนินการรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 นายจ้างฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทำงาน นำมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีนิติบุคคลได้เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเนื่องจากการจ้างงานคนพิการเข้าทำงาน และหากจ้างคนพิการเข้าทำงานเกินกว่า ร้อยละ 60 ของลูกจ้างในสถานประกอบการ โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน ในรอบปีภาษีหรือรอบบัญชีที่มีเงินได้ นายจ้างฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทำงาน นำมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีนิติบุคคลได้เป็นจำนวน 3 เท่า
มีวิธีการส่งเสริมอาชีพตามมาตรา 35 หรือส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา 34 แทนการจ้างงานคนพิการก็ได้
ตามข้อ 4 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ กรณีจังหวัดให้ยื่นที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด
ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ตามข้อ 7 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2558
ตามข้อ 3 คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 156/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรายจ่าย จากการดําเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
หากสถานประกอบการมีค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายจริง ตามมาตรา 35 นายจ้างฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่รายจ่ายดังกล่าวจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา 34 ดังนี้
ก. ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ข. สภากาชาดไทย
ค. วัดวาอาราม
ง. สถานพยาบาลของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล
จ. สถานศึกษาของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และสถาบันอุดมศึกษา เอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานศึกษาเอกชน
ฉ. องค์การหรือสถานสาธารณะกุศลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ตามที่กำหนดใน ก ถึง ฉ ไม่มีสิทธินำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลได้
ตามข้อ 17 ข้อ 20 ข้อ 24 ข้อ 26 ข้อ 29 และข้อ 36 แห่งระเบียบสัมปทานฯ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ถ้าเป็นการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ ให้การช่วยเหลืออื่นใด ต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ฝึกงาน ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และจะต้องครอบคลุม 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของแต่ละปี
ตามข้อ 11 แห่งระเบียบสัมปทานฯ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ผู้ดูแลคนพิการ ต้องปรากฏว่าเป็นผู้ที่มีชื่อในบัตรประจำตัวคนพิการ และต้องปรากฏว่าคนพิการที่อยู่ในการอุปการะหรือผู้ดูแลต้องไม่สามารถประกอบอาชีพได้โดยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้เยาว์
(2) เป็นผู้สูงอายุตั่งแต่ 70 ปีขึ้นไป
(3) เป็นคนไรความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) เป็นคนพิการซึ่งมีสภาพความพิการถึงขั้นมี่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
โดยมีหนังสือรับรองจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด แล้วแต่กรณี
ตามข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้คํานวณจากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (ค่าจ้างต่ำสุดของประเทศ) ที่ใช้บังคับครั้งหลังสุดในปีก่อนปีที่มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คูณด้วยสามร้อยหกสิบห้า และคูณด้วยจํานวนคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทํางาน เช่น ประจำปี 2566 จะใช้ 328 บาท x 365 วัน = 119,720 บาท ต่อคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงาน 1 คน และให้ส่งเงินที่ พก. หรือสำนักงาน พมจ. จังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่และต้องส่งเงินภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 เป็นต้น
ตามมาตรา 34 วรรคสอง แห่งพรบ ฯ กำหนดว่าหากส่งเงินล่าช้าจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยเริ่มมีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ของปีที่ต้องส่งเงิน ไปจนถึงวันที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ครบถ้วน
กรณีขอลดดอกเบี้ยเคยหารือกับกระทรวงการคลังแล้ว เห็นว่าเป็นสิ่งที่รัฐควรได้ตามกฎหมายกำหนดจึงไม่สามารถงดหรือลดได้ เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 7328/2541
ให้สำนักงานใหญ่เป็นผู้มีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติแทนสาขาทั้งหมดของสถานประกอบการ โดยมีวิธีการยื่นรายงาน 2 วิธี คือ
2. ยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการตามประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเรื่อง วิธีการใช้งานระบบรายงานผลการ ปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการ และการส่งเงินเข้ากองทุน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 การนับจำนวนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการ จะนับ ณ วันที่ 1 ตุลาคม เพียงวันเดียว พร้อมกันทุกสถานประกอบการและทุกหน่วยงานของรัฐทั่วประเทศ และจะใช้จำนวนลูกจ้าง ที่นับได้มาใช้ในการคำนวณว่าต้องจ้างคนพิการกี่คน ซึ่งหากภายหลังจากวันที่ 1 ตุลาคม สถานประกอบการจะมีจำนวนลูกจ้างเพิ่มขึ้น หรือลดลงก็ไม่มีผลต้องจ้างคนพิการเพิ่มขึ้น หรือลดลง แต่อย่างใด
จ้างคนพิการหลังวันที่ 1 มกราคม ได้ แต่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตามจำนวนวันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่จ้างงานคนพิการได้ เช่น รับคนพิการเข้าทำงานวันที่ 15 มกราคม 2566 จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ของวันที่ 1 – 14 มกราคม 2566 และต้องส่งเงินจำนวนนี้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 มิฉะนั้นจะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป
อาจเป็นไปตามข้อตกลง และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่การให้ลูกจ้างพิการไม่ต้องทำงานใดๆเลย จะมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม เพราะลูกจ้างจะไม่มีนิติ-สัมพันธ์การเป็นลูกจ้าง
สามารถนำมารายงานได้ ถ้าแพทย์ออกใบรับรองความพิการ แสดงหลักฐานชัดเจนว่ามีคนพิการ แต่คนพิการไม่ประสงค์ออกบัตรประจำตัวคนพิการ ให้สามารถใช้รายงานย้อนหลังได้ถึงปีที่คนพิการมีความพิการ
คณะกรรมการกฤษฏีกา วินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 146/2554 ว่าบทบัญญัติมาตรา 33 มาตรา 34 ให้อำนาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงจำนวนคนพิการและจำนวนเงินที่นายจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนฯ ดังนั้น สาระสำคัญจึงสามารถกำหนดได้เพียงเรื่องจำนวนคนพิการที่นายจ้างและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนดจะต้องนำส่งเข้ากองทุนฯเท่านั้น โดยไม่สามารถกำหนดข้อยกเว้นให้นายจ้างที่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานแต่ไม่มีคนพิการมาสมัครไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ไว้ในกฎกระทรวงนี้ได้
กฎหมายตามมาตรา 33 กำหนดให้จ้างได้เฉพาะคนพิการที่สามารถทำงานได้เท่านั้น ส่วนผู้ดูแลคนพิการสามารถใช้สิทธิรับสัมปทานแทนคนพิการได้ตามมาตรา 35 ได้
ตามมาตรา 36 มาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ฯ อาจถูกปรับ ถูกอายัดทรัพย์สิน ถูกประกาศชื่อต่อสาธารณะ หรือเสียดอกเบี้ย
กลุ่มส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ โทรศัพท์ 0 2106 9327, 9328, 9329 และ 9331
ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 184/2556 ที่ว่าบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะอยู่ในความหมายของคำว่า “หน่วยงานอื่นของรัฐ” ในนิยามคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ เห็นว่า เมื่อมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดความหมายของรัฐวิสาหกิจที่จะเป็นหน่วยงานของรัฐตามคำนิยามหน่วยงานของรัฐไว้ชัดเจนว่า คือ รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา คำว่า “หน่วยงานอื่นของรัฐ” จึงไม่อาจมีความหมายถึงรัฐวิสาหกิจอีกแต่หมายความถึงเฉพาะหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น เช่น องค์การมหาชนหรือองค์กรอิสระ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงไม่อยู่ในความหมายของ “หน่วยงานอื่นของรัฐ” จึงสามารถเลือกส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ได้ และมีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 996/2556 กรณีบริษัท ทอท. ก็มีคำวินิจฉัยไปทำนองเดียวกันโดยสามารถเลือกปฏิบัติได้ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ จ้างงานตามมาตรา 33 การส่งเสริมอาชีพตามมาตรา 35 และส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34
เคยหารือสำนักงานคณะกรรมการกฎษฎีกาแล้ว ได้ความว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมฯ ไม่มีบทบัญญัติยกเว้นการใช้บังคับกับนายจ้างฯ หรือหน่วยงานของรัฐรายใดแล้ว ดังนั้น กรณีองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ย่อมต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
กฎหมายได้กำหนดไว้
สำหรับกรณีนี้เป็นกรณีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับและกฎกระทรวงกำหนดอัตราส่วนการจ้างงานหรือการส่งเงินมีสภาพเป็นกฎได้ประกาศใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่สามารถยกขึ้นอ้างว่าไม่ต้องรับผิดไม่ได้ ทั้งนี้ เทียบเคียงได้กับหลักการที่ว่าหลักกฎหมายวางไว้ตายตัวว่า บุคคลจะอ้างความไม่รู้กฎหมายเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตนพ้นผิดไม่ได้ เพราะถ้าขืนยอมให้ใช้แก้ตัวได้ คนที่เรียนรู้มากก็จะเสียเปรียบคนที่ไม่ยอมเรียนรู้อะไรเลย แต่อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ว่าคนอาจไม่รู้ว่ามีกฎหมายอย่างนั้นอยู่จริงๆ ก็ได้ กฎหมายจึงวางหลักไว้เช่นเดียวกันว่า ถ้าได้ความว่าเขาไม่รู้ว่ามีกฎมหายเช่นนั้นอยู่จริงๆ ศาลก็อาจจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้ แต่จะไม่ลงโทษเลยไม่ได้ อันกฎหมายนั้นถึงจะมีมากมาย และถึงแม้จะไม่รู้ว่ารายละเอียดแห่งกฎหมายมีอยู่อย่างไร แต่กฎหมายนั้นก็มิได้ฝืนธรรมชาติหรือฝืนกฎแห่งศีลธรรมของสังคมแต่ละสังคม ถ้าประพฤติอยู่ในกรอบของศีลธรรมแห่งสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ก็ยากที่จะผิดกฎหมายได้ ส่วนในทางแพ่งนั้นเป็นเรื่องของประโยชน์ส่วนตน ถ้าจะทำอะไรกับใครแล้วไม่ศึกษาหรือหาผู้รู้ช่วยศึกษาให้ ก็ย่อมจะเสียเปรียบคนอื่น : มีชัย ฤชุพันธุ์ 11 ธันวาคม 2548
ตามคำวินิจฉัยที่ 15/2555 ของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่า “เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองคนพิการเพื่อมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุสภาพทางกายหรือสุขภาพ รวมทั้งให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ตลอดจนให้รัฐต้องสงเคราะห์คนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ตามหนังสือตอบข้อหารือของกระทรวงการคลังที่ กค 0427/43255 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 เห็นว่าความในข้อ 5 ของกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 ไม่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลพินิจให้มีการผ่อนชำระเงินเข้ากองทุนได้
คณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 1430/2556 เห็นว่า การจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษเป็นวิธีการที่ให้ผู้ซื้อหรือผู้จ้าง (ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ) ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการเฉพาะเจาะจง คือ ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ โดยไม่มีผู้อื่นเข้ามาแข่งขันเหมือนการประกวดราคา หรือการตกลงราคา ดังนั้น เมื่อมาตรา 35 บัญญัติให้ใช้วิธีกรณีพิเศษส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ก็ต้องใช้วิธีกรณีพิเศษสำหรับการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงได้ โดยคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติสามารถออกระเบียบกำหนดรายละเอียดเพื่อการปฏิบัติต่อกันระหว่างหน่วยงานของรัฐกับคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวได้ แต่ไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างผ่านองค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรเอกชนได้
ตามมาตรา 36 กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้อายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการซึ่งไม่ส่งเงินที่จะต้องส่งตามมาตรา 34 และคำว่า“การอายัด” หมายถึง การสั่งให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ และหรือบุคคลภายนอกมิให้จำหน่าย จ่าย โอน หรือทำ นิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่งอายัดไว้ รวมตลอดถึงการสั่งให้บุคคลภายนอก มิให้นำส่งทรัพย์สิน หรือชำระหนี้แก่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุน
มีคำพิพากษาของศาลวางหลักไว้ดังต่อไปนี้
1. ตามมาตรา 16 กำหนดให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีมีสิทธิไปร้องขอให้คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้ มาตรการนี้ยังไม่มีในกฎหมายอื่น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือบุคคลที่ปฏิบัติผิดหลักการนี้ต่อคนพิการ คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการกระทำที่ไม่เป็นธรรม หรือห้ามไม่ให้กระทำการอันจะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น ธรรมต่อนพิการแล้ว
2. ตามมาตรานี้ ยังไม่ตัดสิทธิผู้ที่ได้รับความเสียหายจากปฏิบัติการที่ผิดกฎหมายนั้นที่จะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายต่อจิตใจ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นเลย บวกกับค่าเสียหายในเชิงลงโทษถ้าเป็นการปฏิบัติที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีหลักการนี้ แต่กฎหมายคนพิการเป็นเพียงฉบับเดียวที่เขียนให้ฟ้องร้องเอาค่าเสียหายได้ไม่เกินสี่เท่าของความเสียหายที่แท้จริง ซึ่งเหตุผลที่ต้องให้สิทธิพิเศษต่อคนพิการมาก เพราะเห็นว่าการไม่มีมนุษยธรรมโดยไม่ให้โอกาสแก่คนที่เป็นรองหรือด้อยโอกาสแต่ ยังไปกดขี่ข่มเหง โดยสภาพจึงมีความร้ายแรงทางจิตใจมาก เพราะฉะนั้นเป็นการสมควรแล้วที่ศาลกำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษที่สูงกว่าความเสียหายให้ไปถึงสี่เท่าได้
การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ดังต่อไปนี้
ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ซึ่งได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะบริการขนส่ง หรือบริการสาธารณะอื่น ให้แก่คนพิการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อย (สองเท่า) ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการดังกล่าว สำหรับแนวปฏิบัติในการขอลดหย่อนภาษีสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นไปตามหนังสือกรมสรรพกรที่ กค 0702/7198 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 ขอได้ที่ พก.
บริษัททำหนังสือขอเอกสารจากสำนักงานประกันสังคมตามพื้นที่ที่บริษัทส่งเงินสมทบ
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ มีเจตนารมณ์ให้คนพิการได้รับการคุ้มครองสิทธิโดยไม่เลือกปฏิบัติตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงได้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 ในอัตรา 100 : 1 หากไม่จ้างก็ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 หรือให้สัมปทานตามมาตรา 35 ซึ่งหากพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนหรือมูลค่าการส่งเสริมอาชีพฯ ตามระเบียบล้วนแต่ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วยสามหกห้าคูณด้วยจำนวนคนพิการที่มิได้จ้าง ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการตามมาตรา 33 ต้องใกล้เคียงการดำเนินการตามมาตรา 34 หรือมาตรา 35 จึงจะเป็นไปตามหลักได้สัดส่วนและเป็นธรรมเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่สำคัญ คือ ต้องจ้างโดยไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ โดยให้เปรียบเทียบลักษณะงานระหว่างลูกจ้างไม่พิการกับลูกจ้างพิการได้ ดังนั้น หากจ้างคนพิการเดือนละ 2 วันเป็นเงิน 600 บาทต่อเดือนจึงไม่ได้เป็นไปตามหลักการสัดส่วนตามกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อคนพิการและสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
สามารถสืบค้นได้ที่ http://ejob.dep.go.th/
2.ตามหนังสือกรมสรรพกรที่ กค 0702/7198 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินได้นิติบุคคล กรณี การยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 กำหนดให้ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเจ้าหน้าที่ดังกล่าวของสถานประกอบการย่อมได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) ได้
ตามระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการอายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2552 และตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2556ได้กำหนดขั้นตอนการอายัดทรัพย์สินไว้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การแจ้งเตือนเป็นหนังสือและการตรวจสอบทรัพย์สินของ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตาม จำนวนที่กำหนดตามมาตรา 33 และไม่ได้ส่งเงินเข้ากองทุน หรือนำส่งเงินล่าช้า หรือส่งเงินไม่ครบถ้วนตาม มาตรา 34 แต่เพิกเฉย 2. การอายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ให้อายัด 3. การคัดค้านคำสั่งอายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อผู้อำนวยการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ภายในสิบสี่ วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งการอายัดทรัพย์สิน 4. การถอนการอายัดทรัพย์สิน ผู้อำนวยการหรือ ผู้ได้รับมอบ อำนาจอาจมีคำสั่งให้ถอนการอายัดทรัพย์สินได้ ปัจจุบันมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายแล้วร้อยละ 79
เนื่องจากเป็นมาตรการที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ในท้ายที่สุดจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้