กองกองทุนส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ
กองกองทุนส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ

ถาม - ตอบการจ้างงาน

1. จ้างงานคนพิการตามมาตรา 33
2. ส่งเงินเข้ากองทุน ตามมาตรา 34
3. ส่งเสริมอาชีพ ตามมาตรา 35
ตามข้อ 3 ของกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 นายจ้างรายใดที่มีจำนวนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการ 100 คนขึ้นไป โดยให้นับจำนวนลูกจ้าง ณ วันที่ 1 ตุลาคม แล้วนำมาคำนวณหาจำนวนคนพิการที่ต้องจ้างในสัดส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการ 100 คน ต่อคนพิการ 1 คน เศษที่เกิน 50 คน
ต้องรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายของปีถัดไ
ตามข้อ 3 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 ให้นับจำนวนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการ ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกสาขา รวมทั้งสำนักงานใหญ่รวมกันทั้งหมด และนำมาคำนวณหาจำนวนคนพิการที่ต้องจ้าง
ให้สำนักงานใหญ่เป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยให้รายงานต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (กรณีสำนักงานสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานคร) หรือสำนักงาน พมจ. จังหวัด (กรณีสำนักงานสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ต่างจังหวัด) 
ตามมาตรา 5 แห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างเหมาแรงงานไม่นับว่าเป็นลูกจ้างของบริษัท จึงไม่ต้องนับรวมว่าเป็นลูกจ้าง

ตามข้อ 6 ของกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามจำนวนวันที่ไม่มีการจ้างงานคนพิการ เว้นแต่ จะได้รับคนพิการรายใหม่เข้าทำงานแทนภายใน 45 วัน นับแต่วันที่คนพิการรายเก่าลาออก

ตามแนวทางปฏิบัติต้องจ้างเต็มเวลาในรูปแบบเป็นลูกจ้างประจำจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือน หรือลูกจ้างที่จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายวัน ระยะเวลาการจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี เช่น ประจำปี 2566 มี 365 วัน ควรจ้างก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 และให้ลูกจ้างทำงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566

ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เช่น

กรณีที่ 1 ไม่ได้รับคนพิการทดแทน ให้ส่งเงินเข้ากองทุนฯ นับแต่วันที่ไม่มีคนพิการทำงาน คือ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่นำเงินมาชำระต่อกองทุนฯ (โดยใช้แบบฟอร์ม จพ 7 และ 7/1 ยื่นต่อกองทุนฯเพื่อการชำระเงิน)

           กรณีที่ 2 ได้รับคนพิการทดแทน แต่ไม่ใช่ภายใน 45 วัน เช่น รับคนพิการได้ในวันที่  15 มิถุนายน 2566จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2566พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่นำเงินมาชำระต่อกองทุนฯ (โดยใช้แบบฟอร์ม จพ 7 และ 7/1 ยื่นต่อกองทุนฯเพื่อแจ้งชื่อคนพิการรายใหม่และการชำระเงิน

ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ต้องจ้างคนพิการที่สามารถทำงานได้ และจ้างได้   ทุกประเภทความพิการอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี 

ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และอัตราค่าจ้างตามความรู้ความสามารถ รวมถึงอัตราตามที่มีการจ้างกันโดยทั่วไป ซึ่งถ้าเป็นค่าจ้างรายวัน ต้องไม่น้อยกว่าค่าแรงขึ้นต่ำในพื้นที่ที่มีการจ้างงานคนพิการ

ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างทุกคนต้องเข้าเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินสมทบ ทั้งในส่วนของลูกจ้างและนายจ้าง

ไม่เสียสิทธิ เพราะเบี้ยความพิการเป็นสิทธิที่พึงได้รับตามกฎหมาย

สำนักงานจัดหางานในพื้นที่ สถาบันการศึกษาที่คนพิการเข้าไปเรียน สมาคมคนพิการประเภทต่างๆ ศูนย์บริการจัดหางานของมูลนิธิพระมหาไถ่ จะให้พก. /พมจ.ติดต่อก็ได้

ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ฯ หากคนพิการมีความประสงค์จะเข้าถึงสิทธิต้องยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา 19 แห่ง    พ.ร.บ. ฯ และจะต้องเป็นบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุเท่านั้น

สามารถที่จะจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับลูกจ้างพิการ ตามความจำเป็นเหมาะสม เช่น ลูกจ้างทางการเคลื่อนไหวใช้รถวีลแชร์ ก็ต้องจัดให้มีห้องน้ำคนพิการ ทางลาด ที่จอดรถ เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ ได้สองเท่าตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 และตามหนังสือ  กรมสรรพากรที่ กค 0702 /7198 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557

ตามข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 156/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรายจาย จากการดําเนินการรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 นายจ้างฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทำงาน นำมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีนิติบุคคลได้เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเนื่องจากการจ้างงานคนพิการเข้าทำงาน และหากจ้างคนพิการเข้าทำงานเกินกว่า ร้อยละ 60 ของลูกจ้างในสถานประกอบการ โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน ในรอบปีภาษีหรือรอบบัญชีที่มีเงินได้ นายจ้างฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทำงาน นำมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีนิติบุคคลได้เป็นจำนวน 3 เท่า

มีวิธีการส่งเสริมอาชีพตามมาตรา 35 หรือส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา 34 แทนการจ้างงานคนพิการก็ได้

ตามมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ. ฯ
  1. ให้สัมปทาน 
  2. จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ
  3. จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ
  4. ฝึกงาน 
  5. จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
  6. ล่ามภาษามือ 
  7. ให้การช่วยเหลืออื่นใด

ตามข้อ 4 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ กรณีจังหวัดให้ยื่นที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด

ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ตามข้อ 7 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2558

ตามข้อ 3 คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 156/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรายจ่าย จากการดําเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 

หากสถานประกอบการมีค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายจริง ตามมาตรา 35 นายจ้างฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่รายจ่ายดังกล่าวจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา 34 ดังนี้

  1. การให้สัมปทาน  ไม่มีสิทธิลงเป็นค่าใช้จ่าย
  2. จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ ไม่มีสิทธิลงเป็นค่าใช้จ่าย
  3. จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 157/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรายจ่าย จากการดําเนินการตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 หากได้จ่ายค่าใช้จ่ายไปเพื่อการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการไปเพื่อกิจการของตน หรือเป็นไปเพื่อการกุศลสาธาธารณะหรือเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยเป็นการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการไปยังสถานที่ดังต่อไปนี้ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

          ก. ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

          ข. สภากาชาดไทย

          ค. วัดวาอาราม

          ง. สถานพยาบาลของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล

          จ. สถานศึกษาของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และสถาบันอุดมศึกษา              เอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานศึกษาเอกชน

          ฉ. องค์การหรือสถานสาธารณะกุศลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

          หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ตามที่กำหนดใน ก ถึง ฉ ไม่มีสิทธินำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลได้

  1. ฝึกงาน มีสิทธิลงเป็นค่าใช้จ่าย
  2. จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่มีสิทธิลงเป็นค่าใช้จ่าย
  3. ล่ามภาษามือ ไม่มีสิทธิลงเป็นค่าใช้จ่าย
  4. ให้การช่วยเหลืออื่นใด ไม่มีสิทธิลงเป็นค่าใช้จ่าย

ตามข้อ 17 ข้อ 20 ข้อ 24 ข้อ 26 ข้อ 29 และข้อ 36 แห่งระเบียบสัมปทานฯ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ถ้าเป็นการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ ให้การช่วยเหลืออื่นใด ต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี  ฝึกงาน ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และจะต้องครอบคลุม 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของแต่ละปี

ตามข้อ 11 แห่งระเบียบสัมปทานฯ พ.ศ. 2558  กำหนดให้ผู้ดูแลคนพิการ ต้องปรากฏว่าเป็นผู้ที่มีชื่อในบัตรประจำตัวคนพิการ และต้องปรากฏว่าคนพิการที่อยู่ในการอุปการะหรือผู้ดูแลต้องไม่สามารถประกอบอาชีพได้โดยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

          (1) เป็นผู้เยาว์

          (2) เป็นผู้สูงอายุตั่งแต่ 70 ปีขึ้นไป

          (3) เป็นคนไรความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

          (4) เป็นคนพิการซึ่งมีสภาพความพิการถึงขั้นมี่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้

โดยมีหนังสือรับรองจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด แล้วแต่กรณี 

ตามข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้คํานวณจากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (ค่าจ้างต่ำสุดของประเทศ) ที่ใช้บังคับครั้งหลังสุดในปีก่อนปีที่มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คูณด้วยสามร้อยหกสิบห้า และคูณด้วยจํานวนคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทํางาน  เช่น ประจำปี 2566 จะใช้ 328 บาท x 365 วัน = 119,720 บาท ต่อคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงาน 1 คน และให้ส่งเงินที่ พก. หรือสำนักงาน พมจ. จังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่และต้องส่งเงินภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 เป็นต้น

ตามมาตรา 34 วรรคสอง แห่งพรบ ฯ กำหนดว่าหากส่งเงินล่าช้าจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยเริ่มมีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ของปีที่ต้องส่งเงิน ไปจนถึงวันที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ครบถ้วน

กรณีขอลดดอกเบี้ยเคยหารือกับกระทรวงการคลังแล้ว เห็นว่าเป็นสิ่งที่รัฐควรได้ตามกฎหมายกำหนดจึงไม่สามารถงดหรือลดได้ เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 7328/2541

ให้สำนักงานใหญ่เป็นผู้มีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติแทนสาขาทั้งหมดของสถานประกอบการ โดยมีวิธีการยื่นรายงาน 2 วิธี คือ

  1. ยื่นแบบรายงานตามแบบที่กำหนด ( แบบ จพ.0-1 ถึง 0-4 ) ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือสำนักงานพัฒนา            สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วแต่กรณี ส่งรายงานผลการปฏิบัติได้ถึงวันไหนและถ้าส่งรายงานช้ากว่าที่กำหนด ผลจะเป็นอย่างไร

        2. ยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการตามประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเรื่อง วิธีการใช้งานระบบรายงานผลการ                 ปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการ และการส่งเงินเข้ากองทุน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 การนับจำนวนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการ จะนับ ณ วันที่ 1 ตุลาคม เพียงวันเดียว พร้อมกันทุกสถานประกอบการและทุกหน่วยงานของรัฐทั่วประเทศ และจะใช้จำนวนลูกจ้าง ที่นับได้มาใช้ในการคำนวณว่าต้องจ้างคนพิการกี่คน ซึ่งหากภายหลังจากวันที่ 1 ตุลาคม สถานประกอบการจะมีจำนวนลูกจ้างเพิ่มขึ้น หรือลดลงก็ไม่มีผลต้องจ้างคนพิการเพิ่มขึ้น หรือลดลง แต่อย่างใด

จ้างคนพิการหลังวันที่ 1 มกราคม ได้ แต่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตามจำนวนวันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่จ้างงานคนพิการได้ เช่น รับคนพิการเข้าทำงานวันที่ 15 มกราคม 2566 จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ของวันที่ 1 – 14 มกราคม 2566 และต้องส่งเงินจำนวนนี้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 มิฉะนั้นจะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

อาจเป็นไปตามข้อตกลง และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่การให้ลูกจ้างพิการไม่ต้องทำงานใดๆเลย จะมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม เพราะลูกจ้างจะไม่มีนิติ-สัมพันธ์การเป็นลูกจ้าง

สามารถนำมารายงานได้ ถ้าแพทย์ออกใบรับรองความพิการ แสดงหลักฐานชัดเจนว่ามีคนพิการ แต่คนพิการไม่ประสงค์ออกบัตรประจำตัวคนพิการ ให้สามารถใช้รายงานย้อนหลังได้ถึงปีที่คนพิการมีความพิการ

คณะกรรมการกฤษฏีกา วินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 146/2554 ว่าบทบัญญัติมาตรา 33 มาตรา 34 ให้อำนาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงจำนวนคนพิการและจำนวนเงินที่นายจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนฯ  ดังนั้น สาระสำคัญจึงสามารถกำหนดได้เพียงเรื่องจำนวนคนพิการที่นายจ้างและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนดจะต้องนำส่งเข้ากองทุนฯเท่านั้น  โดยไม่สามารถกำหนดข้อยกเว้นให้นายจ้างที่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานแต่ไม่มีคนพิการมาสมัครไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ไว้ในกฎกระทรวงนี้ได้

กฎหมายตามมาตรา 33 กำหนดให้จ้างได้เฉพาะคนพิการที่สามารถทำงานได้เท่านั้น ส่วนผู้ดูแลคนพิการสามารถใช้สิทธิรับสัมปทานแทนคนพิการได้ตามมาตรา 35 ได้

ตามมาตรา 36 มาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ฯ อาจถูกปรับ ถูกอายัดทรัพย์สิน ถูกประกาศชื่อต่อสาธารณะ หรือเสียดอกเบี้ย

กลุ่มส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ  โทรศัพท์ 0 2106 9327, 9328, 9329 และ 9331

ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 184/2556 ที่ว่าบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะอยู่ในความหมายของคำว่า “หน่วยงานอื่นของรัฐ” ในนิยามคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ เห็นว่า เมื่อมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดความหมายของรัฐวิสาหกิจที่จะเป็นหน่วยงานของรัฐตามคำนิยามหน่วยงานของรัฐไว้ชัดเจนว่า คือ รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา คำว่า “หน่วยงานอื่นของรัฐ” จึงไม่อาจมีความหมายถึงรัฐวิสาหกิจอีกแต่หมายความถึงเฉพาะหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น เช่น องค์การมหาชนหรือองค์กรอิสระ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงไม่อยู่ในความหมายของ “หน่วยงานอื่นของรัฐ” จึงสามารถเลือกส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ได้ และมีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 996/2556 กรณีบริษัท ทอท. ก็มีคำวินิจฉัยไปทำนองเดียวกันโดยสามารถเลือกปฏิบัติได้ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ จ้างงานตามมาตรา 33 การส่งเสริมอาชีพตามมาตรา 35 และส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34

เคยหารือสำนักงานคณะกรรมการกฎษฎีกาแล้ว ได้ความว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมฯ ไม่มีบทบัญญัติยกเว้นการใช้บังคับกับนายจ้างฯ หรือหน่วยงานของรัฐรายใดแล้ว ดังนั้น กรณีองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ย่อมต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

  1. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือที่ รง 4339 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 วินิจฉัยว่ากรณีสถานประกอบการนำบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกจ้างมาขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนเป็นการยื่นแบบเป็นเท็จและมีความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
  2. เมื่อการจ้างลักษณะดังกล่าว ไม่ถือเป็นลูกจ้างจึงมีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตามมาตรา 34

            กฎหมายได้กำหนดไว้

สำหรับกรณีนี้เป็นกรณีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับและกฎกระทรวงกำหนดอัตราส่วนการจ้างงานหรือการส่งเงินมีสภาพเป็นกฎได้ประกาศใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่สามารถยกขึ้นอ้างว่าไม่ต้องรับผิดไม่ได้ ทั้งนี้ เทียบเคียงได้กับหลักการที่ว่าหลักกฎหมายวางไว้ตายตัวว่า บุคคลจะอ้างความไม่รู้กฎหมายเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตนพ้นผิดไม่ได้ เพราะถ้าขืนยอมให้ใช้แก้ตัวได้ คนที่เรียนรู้มากก็จะเสียเปรียบคนที่ไม่ยอมเรียนรู้อะไรเลย แต่อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ว่าคนอาจไม่รู้ว่ามีกฎหมายอย่างนั้นอยู่จริงๆ ก็ได้ กฎหมายจึงวางหลักไว้เช่นเดียวกันว่า ถ้าได้ความว่าเขาไม่รู้ว่ามีกฎมหายเช่นนั้นอยู่จริงๆ ศาลก็อาจจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้ แต่จะไม่ลงโทษเลยไม่ได้ อันกฎหมายนั้นถึงจะมีมากมาย และถึงแม้จะไม่รู้ว่ารายละเอียดแห่งกฎหมายมีอยู่อย่างไร แต่กฎหมายนั้นก็มิได้ฝืนธรรมชาติหรือฝืนกฎแห่งศีลธรรมของสังคมแต่ละสังคม ถ้าประพฤติอยู่ในกรอบของศีลธรรมแห่งสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ก็ยากที่จะผิดกฎหมายได้  ส่วนในทางแพ่งนั้นเป็นเรื่องของประโยชน์ส่วนตน ถ้าจะทำอะไรกับใครแล้วไม่ศึกษาหรือหาผู้รู้ช่วยศึกษาให้ ก็ย่อมจะเสียเปรียบคนอื่น : มีชัย ฤชุพันธุ์ 11 ธันวาคม 2548

ตามคำวินิจฉัยที่ 15/2555 ของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่า “เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองคนพิการเพื่อมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุสภาพทางกายหรือสุขภาพ รวมทั้งให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ตลอดจนให้รัฐต้องสงเคราะห์คนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ตามหนังสือตอบข้อหารือของกระทรวงการคลังที่ กค 0427/43255 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 เห็นว่าความในข้อ 5 ของกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2554 ไม่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลพินิจให้มีการผ่อนชำระเงินเข้ากองทุนได้

คณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 1430/2556 เห็นว่า การจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษเป็นวิธีการที่ให้ผู้ซื้อหรือผู้จ้าง (ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ) ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการเฉพาะเจาะจง  คือ ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ โดยไม่มีผู้อื่นเข้ามาแข่งขันเหมือนการประกวดราคา หรือการตกลงราคา ดังนั้น เมื่อมาตรา 35 บัญญัติให้ใช้วิธีกรณีพิเศษส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ก็ต้องใช้วิธีกรณีพิเศษสำหรับการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงได้ โดยคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติสามารถออกระเบียบกำหนดรายละเอียดเพื่อการปฏิบัติต่อกันระหว่างหน่วยงานของรัฐกับคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวได้ แต่ไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างผ่านองค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรเอกชนได้

ตามมาตรา 36 กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้อายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการซึ่งไม่ส่งเงินที่จะต้องส่งตามมาตรา 34 และคำว่า“การอายัด” หมายถึง การสั่งให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ และหรือบุคคลภายนอกมิให้จำหน่าย จ่าย โอน หรือทำ นิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่งอายัดไว้ รวมตลอดถึงการสั่งให้บุคคลภายนอก มิให้นำส่งทรัพย์สิน หรือชำระหนี้แก่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุน

มีคำพิพากษาของศาลวางหลักไว้ดังต่อไปนี้

  1. ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 15/2555 วางหลักในการพิจารณาถ้อยคำดังกล่าวแล้วว่า คำว่า “กายหรือจิตใจไม่เหมาะสม” อยู่ในกรอบความหมายของคำว่า “คนพิการ” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการของสหประชาชาติโดยมีลักษณะเป็นการกำหนดลักษณะทางกายและจิตใจที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการไว้อย่างกว้างขวางไม่มีขอบเขตชัดเจน นำไปสู่การใช้ดุลพินิจที่ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ในที่สุด กฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้นต้องมีขอบเขตชัดเจนแน่นอน เช่น อาจกำหนดว่า มีลักษณะทางกายและจิตใจที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการ  ตุลาการได้เพียงใด เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนทราบว่ากฎหมายดังกล่าวต้องการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดบ้าง และต้องสอดคล้องกับหลักแห่งความได้สัดส่วนพอเหมาะพอควรแก่กรณี คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของสังคมโดยรวมมากกว่าประโยชน์ขององค์กรซึ่งมาตรา 26 (10) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการไว้ในขั้นตอนการรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการตุลาการโดยให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ในการพิจารณาความเหมาะสมของบุคคลที่จะให้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการตุลาการหรือไม่นั้น เป็นการตัดสิทธิคนพิการตั้งแต่ต้น โดยไม่เปิดโอกาสให้คนพิการสามารถสอบคัดเลือกได้อย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป และไม่มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้นเสียก่อน ซึ่งภารกิจหลักตามอำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม คือการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ความพิการจึงมิได้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จะเป็นข้าราชการตุลาการ บทบัญญัติมาตรา 26 (10) จึงขัดต่อสิทธิของคนพิการในการเข้าทำงานบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการของสหประชาชาติ และเป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความพิการตามมาตรา 30 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  2. ศาลปกครองสูงสุดก็ได้เคยมีคำพิพากษาที่ 142/2547 ในประเด็นที่ว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่รับสมัครผู้ฟ้องคดีในการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย โดยใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีกายที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยมาตรา 33 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 และมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือไม่ ซึ่งในการนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้วางหลักแห่งความเสมอภาคไว้ ซึ่งหลักดังกล่าวนี้องค์กรต่าง ๆ ของรัฐรวมทั้งฝ่ายปกครองต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกัน และปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญแตกต่างกันออกไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละคน การปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญแตกต่างกันหรือการปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกัน ย่อมขัดต่อหลักความเสมอภาค จึงเห็นได้ว่าหลักความเสมอภาคไม่ได้บังคับให้องค์กรต่าง ๆ ของรัฐต้องปฏิบัติต่อบุคคลทุกคนอย่างเดียวกัน แต่บังคับให้ต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญแตกต่างกันออกไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เฉพาะแต่บุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญเท่านั้นที่องค์กรต่าง ๆ ของรัฐต้องปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้นอย่างเดียวกัน การนำเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพสถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาอ้างเพื่อเลือกปฏิบัติต่อบุคคลให้แตกต่างกัน หากเป็นไปโดยไม่เป็นธรรม ก็ย่อมถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างดังกล่าว โดยไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นควรค่าแก่การรับฟัง ย่อมถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 30 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ

1. ตามมาตรา 16 กำหนดให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีมีสิทธิไปร้องขอให้คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้  มาตรการนี้ยังไม่มีในกฎหมายอื่น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือบุคคลที่ปฏิบัติผิดหลักการนี้ต่อคนพิการ คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการกระทำที่ไม่เป็นธรรม หรือห้ามไม่ให้กระทำการอันจะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น  ธรรมต่อนพิการแล้ว  

           2. ตามมาตรานี้ ยังไม่ตัดสิทธิผู้ที่ได้รับความเสียหายจากปฏิบัติการที่ผิดกฎหมายนั้นที่จะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายต่อจิตใจ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นเลย  บวกกับค่าเสียหายในเชิงลงโทษถ้าเป็นการปฏิบัติที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีหลักการนี้ แต่กฎหมายคนพิการเป็นเพียงฉบับเดียวที่เขียนให้ฟ้องร้องเอาค่าเสียหายได้ไม่เกินสี่เท่าของความเสียหายที่แท้จริง  ซึ่งเหตุผลที่ต้องให้สิทธิพิเศษต่อคนพิการมาก เพราะเห็นว่าการไม่มีมนุษยธรรมโดยไม่ให้โอกาสแก่คนที่เป็นรองหรือด้อยโอกาสแต่ ยังไปกดขี่ข่มเหง โดยสภาพจึงมีความร้ายแรงทางจิตใจมาก เพราะฉะนั้นเป็นการสมควรแล้วที่ศาลกำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษที่สูงกว่าความเสียหายให้ไปถึงสี่เท่าได้

การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ดังต่อไปนี้

  1. กฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
  2. กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555
  3. กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556
  4. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554

ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ซึ่งได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะบริการขนส่ง หรือบริการสาธารณะอื่น ให้แก่คนพิการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อย (สองเท่า) ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการดังกล่าว สำหรับแนวปฏิบัติในการขอลดหย่อนภาษีสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นไปตามหนังสือกรมสรรพกรที่ กค 0702/7198 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 ขอได้ที่ พก.

บริษัททำหนังสือขอเอกสารจากสำนักงานประกันสังคมตามพื้นที่ที่บริษัทส่งเงินสมทบ

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ มีเจตนารมณ์ให้คนพิการได้รับการคุ้มครองสิทธิโดยไม่เลือกปฏิบัติตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงได้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 ในอัตรา 100 : 1 หากไม่จ้างก็ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 หรือให้สัมปทานตามมาตรา 35 ซึ่งหากพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนหรือมูลค่าการส่งเสริมอาชีพฯ ตามระเบียบล้วนแต่ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วยสามหกห้าคูณด้วยจำนวนคนพิการที่มิได้จ้าง ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการตามมาตรา 33 ต้องใกล้เคียงการดำเนินการตามมาตรา 34 หรือมาตรา 35 จึงจะเป็นไปตามหลักได้สัดส่วนและเป็นธรรมเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่สำคัญ คือ ต้องจ้างโดยไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ โดยให้เปรียบเทียบลักษณะงานระหว่างลูกจ้างไม่พิการกับลูกจ้างพิการได้ ดังนั้น หากจ้างคนพิการเดือนละ 2 วันเป็นเงิน 600 บาทต่อเดือนจึงไม่ได้เป็นไปตามหลักการสัดส่วนตามกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อคนพิการและสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

1. ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555  รายการแนบท้ายที่ 23 กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้บริการคนพิการ โดยมีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ ได้รับ การฝึกอบรมจาก พก. ในหลักสูตรเบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารกับคนพิการแต่ละประเภท เพื่อให้สามารถสื่อสารกับคนพิการได้ มีความรู้              และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์หรือสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการ เพื่อให้คำแนะนาในการใช้งานที่ถูกต้องสาหรับคน              พิการและมีความสุภาพและใส่ใจในการให้บริการ

            2.ตามหนังสือกรมสรรพกรที่ กค 0702/7198 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินได้นิติบุคคล กรณี  การยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 กำหนดให้ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเจ้าหน้าที่ดังกล่าวของสถานประกอบการย่อมได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) ได้

            

ตามระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการอายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2552 และตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2556ได้กำหนดขั้นตอนการอายัดทรัพย์สินไว้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การแจ้งเตือนเป็นหนังสือและการตรวจสอบทรัพย์สินของ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตาม จำนวนที่กำหนดตามมาตรา 33 และไม่ได้ส่งเงินเข้ากองทุน หรือนำส่งเงินล่าช้า หรือส่งเงินไม่ครบถ้วนตาม มาตรา 34 แต่เพิกเฉย 2. การอายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ให้อายัด 3. การคัดค้านคำสั่งอายัดทรัพย์สิน  ให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อผู้อำนวยการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ภายในสิบสี่ วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งการอายัดทรัพย์สิน 4. การถอนการอายัดทรัพย์สิน ผู้อำนวยการหรือ ผู้ได้รับมอบ อำนาจอาจมีคำสั่งให้ถอนการอายัดทรัพย์สินได้ ปัจจุบันมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายแล้วร้อยละ 79

เนื่องจากเป็นมาตรการที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ในท้ายที่สุดจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

  1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 20(3) มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39
  2. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2558
  4. ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพการให้บริการที่มีมาตรฐานการคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ พ.ศ. 2555

  1. ผู้ดูแลคนพิการ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2552  บัญญัติว่าให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็น (ฎ)  ของ (1) ในมาตรา  47  แห่งประมวลรัษฎากร (ฎ)  ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา  สามีหรือภริยา  บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้  บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้  หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนละหกหมื่นบาท  โดยบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูต้องเป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็น  คนทุพพลภาพ มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ  และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ วรรคสองบัญญัติว่า การหักลดหย่อนบุตรบุญธรรม ให้หักได้ในฐานะบุตรบุญธรรมเพียงฐานะเดียว โดยให้หักลดหย่อนสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2552 ที่จะต้องยื่นแบบรายการในปี พ.ศ. 2553  เป็นต้นไป
  2. คนพิการที่ทำงาน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรว่าด้วยการลดหย่อนภาษีเงินได้ให้แก่คนพิการมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ตั้งแต่ปีภาษี 2553 เป็นต้นไป
  3. องค์กรเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 519) พ.ศ. 2554 เกี่ยวกับกับการยกเว้นภาษีให้แก่บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่บริจาคให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 20 ได้ร้อยละหนึ่งร้อยแต่เมื่อรวมกับวงการบริจาคเพื่อการศึกษาและสนามกีฬาหรือสนามเด็กเล่นไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวแล้ว
  4. สถานประกอบการ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 ในส่วนค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการ และสิ่งอำนวยความสะดวก
  5. คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 156/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายจ่ายจากการดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
  6. คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 157/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับรายจ่ายจากการดาเนินการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550

กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม
    2. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงานและจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    3. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
Skip to content