กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตาม พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการ พ.ศ. 2534 ในมาตรา 16 โดยเรียกว่า “กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 23 อันทำให้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดตั้งตามกฎหมาย กำหนดให้กองทุนฯ ดำเนินการเพื่อเป็นทุนสำหรับใช้จ่าย เกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การส่งเสริมและการดำเนินงานด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การศึกษาและการประกอบอาชีพของคนพิการ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวกับคนพิการโดยจัดสรรเงินทุนให้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
กองทุนประกอบด้วย
เงินและทรัพย์สินของกองทุน ไม่ต้องส่งคลังเป็นเงินรายได้แผ่นดิน การบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน เข้ากองทุนฯ ให้ผู้บริจาคนำไปใช้หักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด
ให้มีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทน กระทรวงศึกษาธิการผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนเก้าคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้แทนองค์การคนพิการอย่างน้อยเจ็ดคนเป็น อนุกรรมการและให้ผู้อำนวยการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
กองกองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบด้านการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เกิดความสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และ เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานกองทุนฯ โดยการมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพในการดูแลคุณภาพชีวิต คนพิการ จึงเห็นควรมีการวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคมปัจจุบันของกลุ่มเป้าหมาย ศักยภาพของกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ข้อจำกัดและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนากิจกรรม/โครงการ ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ รวมถึงการเตรียมความพร้อม สำหรับตัวชี้วัดตามแผนพัฒนาองค์กร